RedRatkrabang Bangkok Thailand ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน Welcome to...


รอโหลดซักกะเดี๋ยวนะตะเอง – เพลง ชีวามาลา – คุณจั่นทิพย์ สุถินบุตร วงดนตรีสุนทราภรณ์ – ขอขอบคุณที่ติดตามรับชมจ้า...


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

56> หึหึ..."สื่อสารมวลชน" ???????????? "สื่อสารเผด็จการชน"


43... Wow!!! พรุ่งนี้(27ส.ค.54) นายกฯปู ลดราคาน้ำมัน
44... ประชาชนกำลังมีความสุข...อย่าชักใบให้เรือเสียเลยพ่อมหาจำเริญ


หึหึ..."สื่อสารมวลชน" ???????????? "สื่อสารเผด็จการชน"
By: Jitara

เมื่อได้รัฐบาลที่มาจากคะแนนเสียงประชาชนทีไร สื่อมวลชนจะต้องหยิบยกคำว่า สิทธิเสรีภาพของสื่อกับการคุกคามสื่อ มาแหกปากตะโกนเรียกร้องอย่างน่าเบื่อหน่ายทุกทีไป

แต่สมัยที่แล้วหรือสมัยที่มีรัฐบาลที่มีที่มาอย่างพิกลพิการ เช่น รัฐบาลที่มาจากค่ายทหาร รัฐบาลที่มาจากการวิ่งราว และรัฐบาลที่มาจากยึดอำนาจจากคณะรัฐประหาร ปล้นอำนาจประชาชนที่ใช้กำลังทหารและเผด็จการอำมาตย์ควบคุมรัฐบาลอย่างเบ็ดเสร็จ

คำว่า สิทธิเสรีภาพของสื่อและการคุกคามสื่อ คำเหล่านี้หายไปในบัดดล ไม่มีสื่อไหนหยิบยกมาเรียกร้องความเป็นธรรมความเที่ยงตรงในจรรยาบรรณสื่อ และเอาคำว่าสิทธิการนำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือนข่าวสาร มาพูดถึงเลย

ทั้งๆที่สื่อสารมวลชนในยุคเผด็จการครองอำนาจนั้น สื่อสารมวลชนทุกแขนงโดนควบคุมและคุกคามหนักหน่วงยิ่งกว่ายุคใดๆ

แต่ไม่มีสื่อหน้าไหน กล้าออกมาแหกปากเรียกร้องหาจรรยาบรรณและความเที่ยงตรงในการนำเสนอเนื้อหาข่าวเลยซักคนเดียว

พอถึงเวลารัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย มาจากเสียงที่แท้จริงจากประชาชนเกิดขึ้นเมื่อไหร่

สื่อสารมวลชนไทยทำตัวเป็นตัวจระเข้ขวางลำคลองทันที แสดงตัวปีกกล้าขาแข็งต่างไปจากยุคเผด็จการอย่างชัดเจน ตั้งตัวเป็นศัตรูของรัฐบาลจากประชาชนและท้าทายอำนาจประชาชนทุกคราไป

จึงกล่าวได้ว่าคนพวกนี้ไม่สมควรเรียกตัวว่า "สื่อสารมวลชน" ควรเปลี่ยนชื่อเป็น "สื่อสารเผด็จการชน" เพราะพฤติกรรมของพวกเขาเหล่านี้ ไม่ใช่ สื่อสารมวลชนอีกต่อไป แต่เป็นแค่ลิ่วล้อรับใช้เครือข่ายอำมาตย์ผู้ฝักใฝ่เผด็จการแต่เพียงเท่านั้น


จดหมายถึงสมาคมสื่อทุกแขนงแห่งประเทศไทย

เรียนสมาคมสื่อฯ ทุกแห่งในประเทศไทย

เรื่อง ขอความกรุณา แยกแยะ การคุกคามสื่อ กับการวิพากษ์การทำงานของสื่อภาคสนามที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมบางคน

สองสามวันมานี้ ในฐานะประชาชนคนเสื้อแดงคนหนึ่ง รู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่ง กับการออกแถลงการณ์ การออกหนังสือประณาม การเรียกร้องไปยัง คุณยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย

ให้ออกมาห้าม ปราม ปราบ กำหราบ ดุด่า ฯลฯ มิให้ คนเสื้อแดง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนเสื้อแดงในเว็บบอร์ด ต่างๆ ข่มขู่คุกคาม การทำหน้าที่ของสื่อ

ผมในฐานะ คนเสื้อแดงในโลกแห่งเว็บบอร์ดคนหนึ่ง (ซึ่งน่าจะเป็นคู่กรณีโดยตรง) ที่วิพากษ์ วิจารณ์ การทำงาน ของสื่อมวลชน ที่อยู่ในกระแสแห่งการต่อสู้ แยกข้าง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย อย่างชัดเจน ในขณะนี้

ขออนุญาต ชี้แจงแสดงความในใจไปถึง นักข่าวภาคสนาม (โดยเฉพาะคุณสมจิตร) และสมาคมสื่อ ต่างๆ ที่ออกมาเรียกร้องในประเด็น ดังกล่าว ดังนี้

1. ขอให้ สมาคมสื่อวิทยุ และโทรทัศน์ และสภาการหนังสือพิมพ์ ต่างๆ ได้กรุณา ทบทวน การทำหน้าที่ของนักข่าวภาคสนาม ในสังกัดของพวกท่านว่า ทำตามจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อ อย่างแท้จริงหรือยัง

2. กรณี คำถามของคุณสมจิตร อันเป็นประเด็น ทอล์คออฟเดอะทาวน์ นี้ เป็นการแสดงคำถามที่ปราศจาก อคติ ความเกลียดชัง และมีส่วนได้ส่วนเสีย กับพรรคการเมือง หรือไม่

(คำถามของคุณสมจิตร..."นายกฯปู คิดจะแก้ รัฐธรรมนูญ เพื่อ อภัยโทษ ให้ทักษิณ ใช่หรือไม่"

เรื่องนี้นายกฯปูเคยตอบไปกว่าสิบๆครั้งแล้ว..."แก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยวท่านทักษิณ โทษคดีต่างๆก็ยังอยู่ว่าไปตามกระบวนการยุติธรรม"

พอดีดูทีวีช่วงนี้อยู่ เห็นสีหน้าท่านนายกฯปูดูเหมือนเบื่อหรือเซ็ง เพราะพอท่านลงมาพวกนักข่าวก็รุมล้อม คำถามก็ซ้ำซาก วนเวียนเหมือนเดิม ตอบแล้วตอบอีกไม่จบเสียที)


3. รู้สึกแปลกใจหรือไม่ กับพฤติกรรมของนักข่าวภาคสนาม ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ทำไม ความรู้สึกของประชาชน จำนวนหนึ่ง ถึงได้รู้สึกเกลียดชังนักข่าวแห่งช่อง 7 สี คนนี้ มากเป็นกรณีพิเศษและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยไม่มีข้อโต้แย้ง ได้ถึงขนาดนี้

ในฐานะของคนเสื้อแดงที่คลุกคลี รู้จักตัวตนคนเสื้อแดง ในโลกอินเตอร์เน็ท ทั้งในเว็บบอร์ดและในกิจกรรมภาคสนาม ขอยืนยันว่า พวกเรามีวุฒิภาวะ ทางอารมณ์ ของการอยู่ร่วมกันในสังคมมากพอ เราไม่ใช่กลุ่มล้าหลังคลั่งชาติ รักหรือโกรธเกลียดใคร โดยไร้เหตุผล

และที่อยากจะเรียนให้สมาคมสื่อ ทุกสำนักได้ทราบเป็นอย่างยิ่งก็คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือพรรคเพื่อไทย จนตลอดไปถึง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณก็ไม่สามารถจะห้าม คนเสื้อแดงได้

การตัดสินใจประณาม วิพากษ์ หาหนทางในการ ตอบโต้ที่เหมาะสมและอยู่ภายใต้พื้นฐานของการไม่กระทำผิดต่อกฎหมาย เป็นสิทธิส่วนบุคคล ของพวกเรา

การจะให้ วิญญูชน ยอมรับการทำงานของสื่อ นั้นไม่ใช่ต้องเขียนเชียร์ พรรคการเมือง หรือบุคคลทางการเมือง ที่คนเสื้อแดงชื่นชอบ แต่หากการตรวจสอบนโยบาย การกระทำของผู้มีอำนาจรัฐนั้น มาจากพื้นฐานในวิชาชีพ และจรรยาบรรณ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผมรับรองได้เลยว่า คนเสื้อแดงจะไม่แสดงพฤติกรรม ตอบโต้ผ่านหน้าเว็บบอร์ดนั้นอย่างรุนแรงเฉกเช่นที่ คุณสมจิตร แห่งช่อง 7 สี ได้รับอยู่ในขณะนี้

จริงอยู่ สื่อมวลชนมีหน้าที่นำเสนอความจริง และสะท้อนให้เห็นความรู้สึกของประชาชนในสังคม บางครั้งสื่อเปรียบเทียบตนเองว่าเป็น สุนัขเฝ้าบ้าน แต่หากว่า สุนัขเฝ้าบ้าน กลับเป็นโรคกลัวน้ำ เสียสติ หรือไม่ทำหน้าที่สุนัขเฝ้าบ้านอย่างเที่ยงตรง

จะให้ประชาชน ในฐานะเจ้าของบ้าน เลี้ยงเอาไว้อีกหรือ?

วันนี้ ในฐานะประชาชน ที่มองเห็นปฐมเหตุแห่งความวุ่นวายมาตั้งแต่ต้น ผมขออนุญาตประณามทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่า พรรคการเมือง กองทัพ อำนาจที่มองไม่เป็น รวมตลอดถึงสื่อมวลชนในประเทศไทย

ที่มีส่วนร่วมทำให้ความแตกแยกของคนในชาติ ก้าวมาถึงจุดเสียหายแก่ประเทศ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศนี้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความวุ่นวายทางด้านการเมืองที่ผ่านมา สื่อมวลชนมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างยิ่ง ไม่ว่าการนำเสนอข่าวในทางยั่วยุ ปลุกปั่น สร้างสถานการณ์

กรณีของคุณสมจิตร ผมจะไม่ขอวิพากษ์ใดๆอีก เพราะดูเธอก็ร้อนรน จาก วจีกรรมในการทำหน้าที่ อันได้รับการตอบสนองจาก พี่น้องประชาชนทั่วประเทศอย่างสาสมไปในระดับหนึ่งแล้ว

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กระจกสะท้อนการทำงานของสื่อ ในครั้งนี้ คงฉุกคิดให้สื่อได้ทำหน้าที่ โดยปราศจากอคติ ความเกลียดชัง การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เฉกเช่นในอดีตที่ผ่านมาอีก

หวังว่าสมาคมสื่อ คงจะรับฟังและนำไปปรับปรุงการทำหน้าที่ อย่างถูกต้องให้สมกับ สุนัขเฝ้าบ้าน ตามที่พวกท่านได้บอกหลักการทำหน้าที่ของท่านกับสังคม

ขอแสดงความนับถือ

สายลมรัก คนเสื้อแดงในโลกไซเบอร์



จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์ และ จรรยาบรรณสื่อวิทยุและโทรทัศน์

1. จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์ โดย สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

โดยได้กำหนด "จริยธรรมของสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย" เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2510 ไว้ดังนี้

ความรับผิดชอบ (Responsibility) ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อผลประโยชน์อันชอบธรรมของปัจเจกชน สถาบัน ประเทศชาติ ศาสนา และราชบัลลังก์ (ตรงกับหลักพุทธศาสนาคือ กิจญาณ)

ความมีเสรีภาพ (Freedom) ได้แก่ เสรีภาพที่มีความรับผิดชอบกำกับ (ตรงกับหลักธรรมในพุทธสาสนาคือ ปวารณา หรือ ธรรมาธิปไตย)

ความเป็นไท (Independence) ได้แก่ ความไม่ตกเป็นทาสของใครทั้งกายและจิตใจ โดยอามิสสินจ้างอื่นใด(ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนาคือ ความไม่ตกเป็นทาสของอกุศลมูล)

ความจริงใจ (Sincerity) ได้แก่ ความไม่มีเจตนาบิดเบือน ผิดพลาดต้องรีบแก้ไข (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ สัจจะ)

ความเที่ยงธรรม (Impartiality) ได้แก่ ความไม่ลำเอียง หรือความไม่เข้าใครออกใคร (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ความไม่มีอคติ 4 ประการ หมายถึง "ฉันทาคติ" ลำเอียงเพราะรัก "โทสาคติ" ลำเอียงเพราะชัง "ภยาคติ" ลำเอียงเพราะกลัว "โมหาคติ" ลำเอียงเพราะหลง)

ความมีน้ำใจนักกีฬา (Fair Play) ได้แก่ การปฏิบัติดีงาม ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เว้นแต่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ สุปฏิบัติ)

ความมีมารยาท (Decency) ได้แก่ การใช้ภาษาและภาพที่ไม่หยาบโลนและลามกอนาจาร หรือส่อไปในทางดังกล่าว (ตรงกับหลักพุทธศาสนาคือ โสเจยยะ หรืออาจารย์สมบัติ)

นอกจาก "จริยธรรมของสามาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย" แล้ว ยังกำหนด "จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์" ไว้อีก 7 ข้อ คือ

การส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ เป็นภารกิจอันมีความสำคัญเหนืออื่นใดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์

การเสนอข่าว ภาพ หรือการแสดงความคิดเห็น ต้องเป็นไปด้วยความสุภาพ สุจริต ปราศจากความมุ่งหวังในประโยชน์ส่วนตนหรืออามิสสินจ้างใดๆ

การเสนอข่าวต้องเสนอแต่ความจริง พึงละเว้นการต่อเติมเสริมแต่ง หากปรากฏว่าข่าวใดๆไม่ตรงต่อความจริงต้องรีบแก้ไขโดยเร็ว

การที่จะให้ได้ข่าว ภาพ หรือข้อมูลอย่างใดๆมาเป็นของตน ต้องใช้วิธีการที่สุภาพและซื่อสัตย์

ต้องเคารพต่อความไว้วางใจที่ได้รับมอบหมายจากการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพของตน

ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยถือเอาสาธารณประโยชน์เป็นสำคัญ ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์ส่วนตน หรือหมู่คณะโดยมิชอบ

ต้องไม่กระทำการใดๆอันเป็นการบั่นทอนเกียรติคุณของวิชาชีพหรือความสามัคคีของเพื่อนร่วมวิชาชีพ



2. จรรยาบรรณสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดย สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

โดยได้ตราประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายวิทยุและโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 แบ่งเป็น 5 หมวด คือ หมวดทั่วไป หมวดจรรยาบรรณในการเสนอข่าว หมวดจรรยาบรรณในการแสดงความเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ หมวดจรรยาบรรณในการประกาศโฆษณา หมวดความประพฤติ ในที่นี้จะยกหมวดว่าด้วยการเสนอข่าว มาเป็นหลักในการพิจารณาคือ

ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งรู้อยู่แก่ใจว่าเป็นเท็จ ไม่ว่าลักษณะใดๆ

ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งทำให้ประชาชนเสียขวัญ เกิดการแตกแยกกระทบกระเทือนความมั่นคงแห่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศ

ไม่เสนอข่าวและภาพลามกอนาจาร ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ไม่เสนอข่าวลือและภาพไร้สาระ ชวนให้หลงเชื่องมงาย

ไม่เสนอข่าวลือและภาพไร้สาระ

ไม่สอดแทรกความเห็นใดๆของตนลงไปในข่าว

ในกรณีคัดลอกข้อความจากหนังสือพิมพ์ หรือหนังสืออื่น ต้องแจ้งให้ทราบถึงแหล่งที่มาของข้อความนั้น

ภาษาที่ใช้ในการเสนอข่าวและการบรรยายภาพต้องสุภาพ ปราศจากความหมายในเชิงเหยียดหยาม กระทบกระเทียบ เปรียบเปรย เสียดสี

ไม่ใช้การเสนอข่าวและภาพเป็นไปในทางโฆษณาตนเอง

ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งขัดกับสาธารณประโยชน์ของประชาชนและสังคมประเทศชาติ

ไม่เสนอข่าวและภาพซ้ำเติม ระบายสี บุคคล องค์กร สถาบัน ซึ่งตกเป็นข่าว

ไม่เสนอข่าวและภาพ ในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามลัทธิความเชื่อศาสนาใดๆ

พึงให้ความเคารพต่อสิทธิของบุคคล องค์กร และสถาบันอื่นตามกฎหมาย

พึงรับผิดและแก้ไขโดยเปิดเผยและไม่ชักช้าถ้าเกิดความเสียหายแก่บุคคล องค์กร หรือสถาบัน ในการเสนอข่าวผิดพลาด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

พึงละเว้นจากการรับอามิสสินจ้างใดๆ ให้ทำหรือละเว้นการกระทำเกี่ยวกับการเสนอข่าวตรงไปตรงมา

หลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณขององค์กรสื่อที่ยกมาข้างต้นนั้น ได้รับรองสิทธิและเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อแต่ต้องเป็นไปโดยเคารพกฎระเบียบและไม่ละเมิดผู้อื่น ทั้งยังกำหนดให้สื่อยึดถือประโยชน์แห่งสาธารณะเป็นหลัก มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ให้เกียรติแก่ผู้อื่น

เป็นที่น่าสังเกตว่าหลักจริยธรรมของสมาคมหนังสือพิมพ์ที่ออกมาเมื่อ 44 ปีก่อน(พ.ศ.2510) และจรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายวิทยุและโทรทัศน์ ที่ตราออกมาเมื่อ 16 ปีก่อน(พ.ศ.2538) ยังคงเป็นสิ่งที่สื่อโดยทั่วไปคำนึงถึงและให้ความสำคัญกันอยู่หรือไม่ หรือคิดไปว่าข้อกำหนดเหล่านั้นได้ถูกเปลี่ยนไปโดยนวัตกรรมใหม่ๆ ของสื่อเกิดขึ้นมากมายในปัจจุบันไปแล้ว????????????