RedRatkrabang Bangkok Thailand ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน Welcome to...


รอโหลดซักกะเดี๋ยวนะตะเอง – เพลง ชีวามาลา – คุณจั่นทิพย์ สุถินบุตร วงดนตรีสุนทราภรณ์ – ขอขอบคุณที่ติดตามรับชมจ้า...


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

50> นปช. แถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ

ข่าวความเคลื่อนไหวอื่นๆ เชิญที่เว็บนี้ครับ....
และ เชิญที่เว็บนี้ด้วยครับ....


3กรกฎา กาเบอร์๑ ส.ส.เพื่อไทย

และ กาเบอร์๑ พรรคเพื่อไทย

ใ ห้ จั ด ตั้ ง รั ฐ บ า ล พ ร ร ค เ ดี ย ว


ฮิวแมนไรท์วอท์ช สรุป ทหารฆ่าแดง...
คลิกที่นี่...รายงาน "Descent into Chaos: Thailand’s 2010 Red Shirts Protest and the Government Crackdown" ฉบับเต็มของฮิวแมนไรท์วอท์ช

คลิกที่นี่...เพื่อไทยปราศรัย เวทีจ.สุรินทร์และเวทีจ.อุบลฯ 05-05-54 และที่นี่...
คลิกที่นี่ จตุพร ณัฐวุฒิ และท่านอื่นๆ เวทีร้อยเอ็ด 02-05-2554
คลิกที่นี่ ดูต่อเนื่อง...จตุพร ณัฐวุฒิ และท่านอื่นๆ เวทีเชียงใหม่&เวทีขอนแก่น 30-04-2554
คลิกที่นี่...คลิป จตุพร ณัฐวุฒิ และท่านอื่นๆ เวทีโคราช งานคุณแรมโบ้
27-04-2554 หรือคลิกที่นี่...

นปช. แถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ
http://www.prachatai.com/journal/2011/04/34249



วันอังคารที่ 26 เมษายน 2554 เวลา 20.00 น. แกนนำ นปช. ประกอบด้วย ธิดา ถาวรเศรษฐ์ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และจตุพร พรหมพันธุ์ ร่วมแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย ตึกมณียา ซึ่งมีผู้สื่อข่าว นักวิชาการ ตัวแทนสถานทูตและผู้สนใจชาวต่างประเทศเข้าร่วมรับฟังประมาณ 100 คน ระบุมีความพยายามทำรัฐประหารอีกครั้ง พร้อมใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเครื่องมือ ระบุประชาชนจะเป็นกำลังสำคัญในการต่อต้านการรัฐประหารครั้งใหม่

ธิดา ถาวรเศรษฐ์ กล่าวขอบคุณสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ให้โอกาสมาพูดคุย พร้อมกล่าวต่อไปว่า แม้ว่าประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะปกติ และก้าวไปสู่การเลือกตั้ง ครบรอบ 1 ปีของการสลายการชุมนุมอย่างรุนแรง มีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก มีผู้ถูกจับกุมคุมขังกว่าร้อยคน ยังไม่มีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมถึงกระบวนการสืบสวนสอบสวนการบาดเจ็บเสียชีวิตของประชาชนที่ไม่มีการดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา รวมถึงช่างภาพ ผู้สื่อข่าว พยาบาล และผู้ที่ตายในวัดปทุมวนาราม ทำให้ นปช.แดงทั้งแผ่นดินต้องทวงถามความยุติธรรม และจัดชุมนุมทุกเดือนในวันที่ 10 และ 19 และมีผู้เข้าร่วมชุมนุมมากขึ้นเป็นลำดับ

ที่สำคัญคือประชาชนไทยและคนเสื้อแดงมองเห็นความไม่เสมอภาคทางการเมืองและการใช้กฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างประชาชนต่างสีเสื้อ ระหว่างพรรคการเมืองที่สนับสนุนอำมาตยาธิปไตย กับพรรคที่สนับสนุนประชาชน

ความป่าเถื่อนเช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในยุคนี้ที่โลกมีความเจริญก้าวหน้า มีความเจริญทางวิทยาศาสตร์ นี่ไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแกนนำในระบอบอำมาตยาธิปไตยกับทักษิณ และเป็นความขัดแย้งระหว่างเครือข่ายของคนที่ผลประโยชน์กับระบอบอำมาตย์ กับกลุ่มประชาธิปไตย

และแม้จะมีการประกาศยุบสภา เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง แต่ก็มีความพยายามที่จะก่อการรัฐประหารครั้งใหม่ โดยที่ภาระและผลผลิตของการรัฐประหารชุดเก่ายังอยู่ และมีการใช้เครื่องมือคือข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยให้กองพลต่างๆ ออกมาตบเท้าทุกวัน

การพยายามรัฐประหารเป็นความล้าหลังซ้ำซากของรัฐที่ไม่ยอมให้ประชาชนเลือกผู้นำด้วยตนเอง โดยกลัวว่าจะได้พรรคและผู้นำที่ไม่พึงประสงค์ โดยไม่ต้องการให้เปิดเผยความจริงของการพยายามเข่นฆ่าประชาชน และประการต่อมาคือ การเกิดของ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ทั้งที่ปรากฏตัว และไม่ปรากฏตัวจะเป็นผู้เลือกพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย

ทั้งนี้ การเติบโตของคนเสื้อแดงทั้งคุณภาพปริมาณจะมีผลสำคัญต่อการต่อต้านการรัฐประหาร น่าเป็นห่วงการรัฐประหารโดยกองทัพไทยจะต้องถูกต่อต้านจากประชาชนไทย และนี่เป็นการทวนกระแสสังคมโลก

“จะมีอะไรเกิดขึ้นอีกกับสังคมไทย และจะมีคนบาดเจ็บล้มตายอีกเท่าไหร่ ทั้งนี้คนบาดเจ็บล้มตายไม่ใช่ดัชนีความรุนแรงแต่อย่างเดียว แต่ยังมีความล้าหลังที่เป็นดัชนีความเลวร้ายป่าเถื่อน ไม่เคารพความเท่าเทียมของสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือต้องรอให้คนตายอีกนับหมื่นคนจึงตระหนัก” นางธิดากล่าวในท้ายที่สุด

ถาม-ตอบ ระหว่าง แกนนำ นปช. กับ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ

ถาม: สถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้ รวมถึงการปะทะกันที่ชายแดนไทย-กัมพูชาอาจเป็นสัญญาณว่าจะไม่มีการยุบสภาใช่หรือไม่

ณัฐวุฒิ: ผมมาพูดครั้งนี้เป็นครั้งที่สาม แต่ละครั้งชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นลำดับ ครั้งแรกเป็นโฆษกรัฐบาล ครั้งที่สองแกนนำเสื้อแดง ปัจจุบัน ผมเป็นผู้ก่อการร้ายแล้วครับ

สำหรับคำถามนั้นต้องบอกว่าเวลานี้ยังไม่มั่นใจว่าประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งจริงๆ เพราะสถานการณ์ทางการเมืองอธิบายว่า กลุ่มผู้คุมอำนาจไม่ประสงค์จะยอมรับผลการเลือกตั้งหากพรรคเพื่อไทยเป็นผู้ชนะ

มีการสำรวจข้อมูลการตัดสินใจของประชาชนหากมีการเลือกตั้งของหน่วยงานความมั่นคงหลายหน่วยงาน ผมได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ว่าก่อนเทศกาลสงกรานต์มีการพบปะกันของนายทหารกองทัพบกกับกลุ่มชนชั้นนำสามสี่ท่าน ในระหว่างการสนทนามีการเอาผลสำรวจหรือโพลล์ฝ่ายความมั่นคงมาดู ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับการเลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 250 ที่นั่ง มีการถามกันในเวลานั้นว่าตรวจสอบเรียบร้อยหรือยัง ผู้ที่นำผลสำรวจมาให้ก็คือนายทหารคนดังที่ทำหน้าที่แถลงข่าวให้กองทัพตลอดระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมายืนยันว่าตรวจสอบแล้วสองสามรอบ

ถ้าไปถามนักการเมืองที่เป็นแกนนำตัวจริงของพรรคการเมืองหลายพรรคที่ร่วมรัฐบาลอยู่ ท่าทีล่าสุดของคนเหล่านั้นก็มีความเชื่ออยู่ลึกๆ ว่าอาจจะไม่มีการเลือกตั้ง นี่เป็นข้อมูลที่ผมเพิ่งจะได้ฟังมา จากอดีตรัฐมนตรีของรัฐบาลทักษิณเล่าว่าไปพบอดีตรัฐมนตรีที่เคยร่วมรัฐบาลกัน

เพราะฉะนั้นสิ่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพูดออกมาจึงเป็นเรื่องที่ต้องรับฟังและติดตามความเคลื่อนไหวนี้อย่างใกล้ชิด ผมภาวนาว่าอย่าให้เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างไทยกัมพูชาถูกอธิบายเป็นเหตุผลที่จะเลื่อนการยุบสภาออกไป เพราะหากเป็นเช่นนั้นมันจะกลายเป็นว่าเหตุปะทะรอบนี้มีเป้าหมายทางการเมืองของประเทศหนึ่งประเทศใดแอบแฝงอยู่

แต่ความเชื่อเดิมทั้งของผมที่พูดไว้ที่อุดรธานีและแกนนำบังเอิญตรงกันว่าสัญญาณที่จะไม่มีการเลือกตั้งจะปรากฏชัดเจนหลังนายอภิสิทธิ์ประกาศยุบสภา

แต่ถ้ามองจากท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ เขาอยากจะเลือกตั้งทันทีเลยถ้าทำได้ เพราะประชาธิปัตย์ประเมินได้ว่าการอยู่ในอำนาจต่อไปภายใต้สถานการณ์ขณะนี้จะไม่เป็นผลดีต่อพวกเขา จึงคิดว่าการตัดสินใจยุบสภาจะทำให้โอกาสในการกลับมาเป็นรัฐบาลของ ปชป. จะมีมากขึ้น แม้จะไม่มั่นใจว่าจะชนะเลือกตั้ง แต่เป็นหน้าที่ของอำนาจนอกระบบที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้เขากลับมาเป็นรัฐบาล มีความเชื่อที่พูดกันตลอดเวลาใน ปชป. ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดในสถานการณ์ขณะนี้ ไม่ใช่ดีที่สุดของประชาชน แต่ดีที่สุดของระบอบอำมาตยาธิปไตย นี่คือปัญหาใหญ่ของประเทศไทย

ผมจึงอยากประกาศต่อทุกท่านและยืนยันต่อสังคมโลกว่าคนไทยต้องการการเลือกตั้ง และวิกฤตความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหารจะมีโอกาสนับหนึ่งในการคลี่คลายก็ต่อเมื่อมีการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ตรงกันข้ามหากไม่มีการเลือกตั้งก็จะทำให้สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ทวีความเข้มข้น มีสภาพขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น จนมองไม่เห็นทางออกใดๆ เราไม่อยากเดินเข้าสู่กับดักของวิกฤต เราอยากเดินไปที่จุดเริ่มต้นของสันติภาพ และเราคาดหวังว่าบทบาทของสื่อมวลชนในทุกๆ ประเทศจะมีส่วนช่วยอย่างสำคัญต่อสิ่งนี้

ถาม: ใครคือผู้รับผิดชอบต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในตอนท้ายของการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา

จตุพร: ความรุนแรงและการเผาเซ็นทรัลเวิลด์ และศาลากลางต่างๆ เป็นความพยายามของฝ่ายรัฐที่จะเผา เพื่อเบี่ยงเบนประเด็นความตาย ความตายในวัดปทุมวนารามเป็นความตายก่อนที่จะมีการเผาเกิดขึ้นทั้งสิ้น ต้องมีการเผาเซ็นทรัลเวิลด์เพราะต้องการสร้างสถานการณ์ว่าคนเสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง เพื่อให้คนลืมความตาย

กรณีเซ็นทรัลเวิลด์ ผมและได้คุยกับหัวหน้าชุดปฏิบัติการดูแลเซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีภาพถ่าย ทีวีวงจรปิดและภาพนิ่ง ว่าพวกเขามาดูแลอยู่เป็นเวลาสองเดือน เป็นห้างเดียวที่ไม่ได้ใช้ชุดบรรเทาสาธารณภัย เป็นการล็อกเป้าจงใจที่จะมีการเผา หัวหน้าชุดปฏิบัติการเซ็นทรัลเวิลด์นั้นเพราะเขาเห็นชะตากรรมคนเสื้อแดง ว่านอกจากความตายแล้วยังถูกกล่าวหา

อย่างช้าสัปดาห์หน้าจะมีหนังสือที่เป็นรายละเอียดทั้งหมดเรื่องการเผาเซ็นทรัลเวิลด์ เวลานี้ภาพถ่ายจากวงจรปิดจะถูกเปิดเผย

ในกรณีเซ็นทรัลเวิลด์ มีภาพถ่ายชายชุดดำ แต่ไม่แนบเนียบเพราะรองเท้าตรงกับทหาร เหตุการณ์การเผาเซ็นทรัลเวิลด์ กับการยิงที่วัดปทุมเป็นเวลาที่สอดคล้องกัน แต่ผมเองก็ถูกนำตัวไปสอบสวน

เวลานั้นทหารได้คุมสภาพเบ็ดเสร็จ รักษาการผู้บังคับการกองปราบฯ ก็ยังถูกทหารค้นตัว

เวลาเก้าเดือนที่ผ่านมา ถ้าชุดผจญเพลิงของเซ็นทรัลเขาเห็นว่าคนเสื้อแดงเผา เขาต้องฟ้องคนเสื้อแดง แต่ด้วยความเป็นมนุษย์ของเขา เขาเอาวิดีโอมาให้คนเสื้อแดง และตำรวจชุดเดียวที่มาดูแลห้างเซ็นทรัลคือชุดของวังสระปทุม ต่อมาล่าถอยออกไป และกำลังที่มาผลักให้ตำรวจออกไปนั้นเป็นทหาร

กรณีศาลากลางอุบลราชธานี มีการจับกุมตัวคน 22 คน และยังไม่มีการปล่อยตัว ผู้ว่าฯ อุบลราชธานีบอกว่าขณะนั้นมีเจ้าหน้าที่ 80 คนทำงานอยู่ ไม่มีอาวุธ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจบอกว่า เวลานั้นมีตำรวจและอาวุธครบมือ 800 คน โดยตำรวจที่ทำสำนวนมาสารภาพกับผมว่า พฤติการณ์ที่ศาลากลางนั้น เป็นการเทน้ำมันจากชั้นบนลงสู่ชั้นล่าง นี่คือตัวอย่างของข้อมูลที่ให้การไม่ตรงกัน

ที่ศาลากลางอุดรธานี ข้าราชการที่ควบคุมอำนวยการดูแลศาลากลางฯ ได้สารภาพกับ ส.ส. วิเชียร ขาวขำ โดยที่วันเกิดเหตุมีกำลัง อส. แต่ก่อนเกิดเหตุมีกำลังทหารติดอาวุธเข้าไปเผาศาลากลาง แต่ประชาชนที่อุดรธานี มีการนัดหมายว่าหากมีการสลายการชุมนุมจะไปรวมตัวกันที่ศาลากลาง

นี่คือการสวมรอย เหมือนการเผารถเมล์ 52 คัน คนขับรถเมล์ให้ปากคำว่าคนที่มาปล้นรถเมล์ไปนั้นเป็นทหาร เมื่อมีการสอบสวนแล้ว กมธ. สภาฯ ไม่กล้าเปิดเผย

ถาม: การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนไม่แน่นอน ถ้าเราตั้งสมมติฐานว่าเราไม่รู้ว่าใครจะชนะหรือแพ้ ถ้าพรรคเพื่อไทยไม่ชนะพร้อมที่จะยอมรับรัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้งหรือไม่และในสถานการณ์ไหนที่ยอมรับและในสถานกาณณ์ไหนที่จะออกมาประท้วง

ณัฐวุฒิ: หากการเลือกตั้งโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่ว่าพรรคการเมืองใดชนะ เรายินดียอมรับผลการเลือกตั้ง ถ้าประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง เรายินดีที่จะยอมรับโดยไม่มีการคัดค้านใดๆ ผมเรียนว่าที่ผ่านมาเราไม่เคยออกมาต่อสู้เพราะแพ้เลือกตั้ง เราเป็นประชาชนส่วนมากในประเทศที่เลือกพรรคการเมืองที่เราสนับสนุนและได้เป็นรัฐบาลแล้วรัฐบาลของเราถูกทำลายครั้งแล้วครั้งเล่าด้วยวิธีของผู้เผด็จการ เราจึงต้องออกมาต่อสู้

ผมอยากจะฝากคำถามเดียวกันนี้ว่า ถ้าเจออภิสิทธิ์ หรือทหารใหญ่ ว่าถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคเพื่อไทยชนะ เขาจะยอมรับและปล่อยให้จัดตั้งรัฐบาลตามเจตนารมณ์ของประชาชนหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาเราไม่เคยไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง เขาต่างหากที่ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งจนเป็นปัญหาจนทุกวันนี้

สถานการณ์ที่เราจะออกมาต่อสู้ ก็คือ ถ้าผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงเป็นอันดับหนึ่งแล้วไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ มีการแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เราจำเป็นต้องต่อสู้

ผมเข้าใจแนวปฏิบัติทั่วโลกว่า หากพรรคอันดับหนึ่งไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ พรรคอันดับรองลงไปสามารถเป็นแกนนำ แต่ความจริงของประเทศไทยคือ มีพรรคการเมืองเดียวเท่านั้นที่ชนะการเลือกตั้งได้แล้วไม่ได้เป็นรัฐบาล นั่นคือพรรคเพื่อไทย

ถาม: เคยสัมภาษณ์เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งที่สูญเสียดวงตาเพราะเขาร่วมชุมนุม เขาบอกว่า การต่อสู้นั้นขึ้นกับแกนนำ

จตุพร: มีการพยายามสร้างสถานการณ์ ขณะที่มีกระสุนปืนจำนวนมากถูกใช้กับคนเสื้อแดง อย่างไรก็ตาม หากถามว่า จะเจรจากันได้หรือไม่นั้น ต้องตอบว่าการเจรจาเกิดได้ทุกวัน แต่คำถามคือความยุติธรรมจะเกิดได้หรือเปล่า สิ่งที่สำคัญคือการสร้างความเสมอภาค ความเป็นภราดรภาพ ความเป็นพี่เป็นน้องกัน

ถาม: ถามคุณธิดา ว่าเมื่อประมาณ 1 เดือน หลังเหตุการณ์ ให้สัมภาษณ์โพสต์ทูเดย์ว่าเป็นห่วงคนเสื้อแดงและความปลอดภัยของสามี เข้าใจว่ามีการไล่สมาชิกของ นปช. บางคนออกเพราะสนับสนุนความรุนแรง แต่ขณะนี้คนเหล่านั้นยังมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง

ธิดา: ประการแรก ถ้าคุณอ่าน โพสต์ทูเดย์ คุณต้องเช็คก่อนว่าข้อมูลที่นำเสนอนั้นถูกต้องหรือเปล่า เพราะปัญหาของสื่อเมืองไทยนั้นคือการแบ่งข้างชัดเจนทั้งเรื่องผลประโยชน์และชนชั้น

ด้วยเหตุนี้การต่อสู้ของคนเสื้อแดงจึงไม่ค่อยได้รับการนำเสนอต่อสังคมภายนอก หากสังคมภายนอกอ่านเฉพาะสื่อที่เป็นของประเทศไทย

ประการที่สอง สิ่งที่โพสต์ทูเดย์ เขียนนั้น อาจจะเป็นปัญหาเรื่องข้อมูลและการถ่ายทอดข้อมูลด้วย จึงอยากได้คำถามจากท่านโดยตรงมากกว่าโดยไม่ต้องอ้างโพสต์ทูเดย์

ผู้สื่อข่าวคนเดิม ถาม: บทความในโพสต์ทูเดย์เป็นคำสัมภาษณ์คำต่อคำ จึงเชื่อว่าน่าเชื่อถือ แต่อยากถามโดยตรง ว่าเป็นห่วงหรือไม่ ว่าสามีจะเป็นอันตรายจากคนเสื้อแดง

ธิดา: ในความเป็นจริง ไม่มีคำถามและคำตอบเรื่องนี้เลย แต่ตอบได้ว่า การเข้ามาเกี่ยวข้องกับคนเสื้อแดงไม่ใช่เข้ามาในฐานะของภรรยาของ นพ.เหวง โตจิราการ แต่ในฐานะนักต่อสู้ นี่เป็นเหตุผลประการแรกที่ท่านต้องทราบก่อน

การห่วงคือห่วงการต่อสู้ของประชาชนไม่ใช่ นพ.เหวง โตจิราการ คือห่วงทุกคนไม่ใช่เฉพาะแกนนำ แต่เป็นการเป็นห่วงคนเสื้อแดงทุกคนที่ถูกจับกุมคุมขังและถูกไล่ล่า นี่เป็นประเด็นสำคัญว่านักต่อสู้นั้นเอาเรื่องส่วนตัวตั้งต้น หรือเพื่อส่วนรวม ดังนั้นคำถามนี้ ขอปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัว และเหตุผลที่เข้ามารับเป็นประธานการต่อสู้ของคนเสื้อแดงคือความเป็นห่วงขบวนการ ต้องขอโทษหมอเหวงในฐานะสามีด้วยว่าไม่ได้ห่วงเขามากกว่าคนอื่น

ถาม: ถ้าผลการเลือกตั้งเพื่อไทยได้เสียงมากที่สุด แต่ไมได้เสียงส่วนใหญ่ แล้วในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์สามารถตั้งรัฐบาล ท่านจะยอมรับหรือไม่

ณัฐวุฒิ: นี่แหละที่เป็นปัญหา คือ พรรคการเมืองใดก็ตามที่ได้เสียงอันดับหนึ่งจะได้เป็นรัฐบาลได้ทั้งหมด ยกเว้นพรรคเพื่อไทย เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะสื่อสารมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศรายงานตรงกันว่ามีอำนาจนอกระบบจะไม่ยินยอมให้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล จะมีการจัดการทุกวิถีทางแม้พรรคเพื่อไทยจะเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง ผมคิดว่าท่านคงไม่หวังว่าจะให้เรายอมรับสิ่งนี้ เพราะถ้าการยอมรับสิ่งนี้ นี่ไม่ใช่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

ถาม: เมื่อมีการเจรจาก่อนที่จะสลายการชุมนุม ทางรัฐบาลเสนอว่าควรจะมีการเลือกตั้งเดือน พ.ย. แล้วทางเสื้อแดงมีความเห็นแตกต่างกัน บางคนเห็นด้วย บางคนไม่เห็นด้วย รัฐบาลอ้างว่าเพราะทางเสื้อแดงไม่ยอมรับข้อเสนอเพราะนายกฯทักษิณต้องการการนิรโทษและอนุญาตให้กลับบ้าน จริงหรือไม่ บทบาทของทักษิณในเรื่องนี้เป็นอย่างไร และถ้าพรรคเพื่อไทยสามารถที่จะนำรัฐบาลต่อไปจะให้ทักษิณกลับมาหรือไม่

จตุพร: การเสนอยุบสภาของอภิสิทธิ์เวลานั้นมี 2 ช่วง ช่วงแรกที่มีการเจรจากันนั้นคุณอภิสิทธิ์ ของ 9 เดือน แต่เราเสนอ 15 วัน รวมรักษาการสองเดือนเป็นสองเดือนครึ่ง แต่คุณอภิสิทธิ์ไม่ยอมรับ มีการอ้างว่าคุณทักษิณโทรหาผม แต่ผมอยากให้ไอซีทีตรวจสอบได้ เพราะคนที่โทรหาผมคือณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ

ช่วงที่สองหลังวันที่ 10 เม.ย. ซึ่งถ้าไม่มีความตายและผู้บาดเจ็บ ผมในฐานะนักเลือกตั้ง หากเราได้วันเลือกตั้ง โดยไม่สนใจคนที่บาดเจ็บและสูญเสีย มันชี้ความเห็นแก่ตัวของนักเลือกตั้ง เพราะคุณเอาความตายไปแลกกับวันเลือกตั้งไม่ได้

ไม่มีใครปฏิเสธการเลือกตั้งว่าคนเสื้อแดงขอต่อสู้ทุกคดี ไม่ว่าจะเป็นคดีผู้ก่อการร้าย หรือล้มสถาบัน โดยไม่ขอนิรโทษกรรม แต่เมื่อมีการฟ้องร้องคดีต่อนายสุเทพและนายอภิสิทธิ์ที่สั่งการทำร้ายประชาชน นายอภิสิทธิ์นั้นได้รับเอกสิทธิ์ ส.ส. เหมือนกับผม แต่นายสุเทพนั้นไม่มีเอกสิทธิ์ กลับเดินทางไปดีเอสไอ เพื่อรับฟังว่ามีข้อกล่าวหาเท่านั้น ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ไม่เคยเกิดขึ้น

ณัฐวุฒิ: ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ว่า ผมไม่สนใจว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะได้กลับเมืองไทยเมื่อไหร่ จะได้รับทรัพย์สินที่ถูกยึดไปคืนหรือไม่ แต่สิ่งที่ผมเรียกร้องก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณต้องได้รับความยุติธรรมจากทุกกระบวนการในประเทศไทย

ถ้าหากจะมีคำอธิบายว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับพ.ต.ท. ทักษิณ ไม่ว่าจะเป็นการยึดทรัพย์ หรือคดีของ หากถูกอธิบายว่าเป็นการกระทำที่ยุติธรรมเป็นสิ่งที่ผมยอมรับไม่ได้

หากคนที่ได้รับการเลือกตั้งยังไม่ได้รับความยุติธรรม ก็ไม่มีความหวังว่าประชาชนจะได้รับสิ่งนี้ และประเทศที่ไร้ซึ่งความยุติธรรม หรือมีความยุติธรรมเป็นสองมาตรฐาน ประเทศนั้นจะมีความเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร เราจึงต้องต่อสู้ ผมไม่ยอมให้สื่อมวลชนที่นี่อยู่ในประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

คำถาม: ทั้ง 18 คนที่เป็นผู้นำถูกกล่าวหาด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ท่านคิดว่าต้องต่อต้านมาตรา 112 หรือไม่

จตุพร: ในประเทศไทยตลอดระยะเวลา 70 กว่าปีที่ผ่านมา ประเด็นที่เกี่ยวพันกับพระมหากษัตริย์ ได้ถูกทหารและนักการเมืองหยิบใช้ ทหารหยิบใช้เพื่อทำการรัฐประหาร นักการเมืองใช้เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตัวเองและทำลายฝ่ายตรงข้าม เพราะฉะนั้นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องทรงอยู่เหนือการเมือง แต่เนื่องจากการรัฐประหารทุกครั้งที่เกิดขึ้น แม้แต่วันที่ 19 ก.ย. 49 ก็มีการกล่าวอ้างสถาบัน

การดำเนินคดีกับพวกเรา 18 คน บางคนถูกคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะยืนอยู่ข้างผมขณะปราศรัย บางคนไม่ได้พูดสักคำ แต่ยืนอยู่ข้างผม ปรากฏว่าดีเอสไอระบุว่า ต้องดำเนินคดีเพราะไม่ห้ามปรามผม ท่านทั้งหลายที่ฟังผมก็อาจจะถูกดำเนินคดีเพราะไม่ห้ามปรามผม

ธิดา: ดิฉันถูกมาตรา 112 ด้วย แม้ว่าขณะนั้นไม่ได้ยืนอยู่ด้วย แต่ยืนอยู่ข้างล่างเวที แต่ไม่ได้วิ่งขึ้นมาห้ามปราม

ณัฐวุฒิ: จุดยืนของ นปช. คือการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยอำนาจอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เราไม่มีปัญหาใดๆ กับการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์และไม่คิดว่าการต่อสู้ของเราจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถาบัน เพียงแต่ มีการใช้ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับสถาบันพยายามที่จะทำลายการต่อสู้ของเราตลอดเวลา

คำถามเรื่องมาตรา 112 ผมมีคำอธิบายว่ามีนักวิชาการและประชาชนกลุ่มหนึ่งเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ มีข้อเสนอทางวิชาการจากนักวิชาการกลุ่มดังกล่าว ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่สังคมไทยรับฟังสิ่งนี้ได้ ปัญหาที่ผ่านมาก็คือ สังคมไทยมีแต่ทุกฝ่ายที่พูด ไม่มีใครฟังใคร เพราะฉะนั้นการรับฟังก็จะทำให้เกิดความเข้าใจกันและกันมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ไม่ได้มีแนวทางหรือไม่ได้มีมติที่จะเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ แต่สิ่งที่เราเจ็บปวดที่สุดเวลานี้ก็คือมีการใช้ข้อกล่าวหาจากมาตรา 112 กับคนในประเทศอย่างไม่เท่าเทียมกัน มีการแจ้งความดำเนินคดีกับคุณจตุพรและพวกเราอย่างรวดเร็วด้วยท่าทีที่ดุดันของกองทัพ แต่กลับจงใจเพิกเฉยต่อกรณีที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายอานันท์ ปันยารชุน และพลเอกสิทธิ เศวตศิลา สนทนากับนายอิริค จอน เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย โดยมีการแสดงความเห็นอย่างรุนแรงซึ่งเนื้อหาปรากฏในเดอะการ์เดียน ปรากฏในวิกิลีกส์ มีการไปแจ้งความดำเนินคดี แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ

ถาม: กรณีชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนไทย-กัมพูชา กว่าห้าหมื่นคน คิดว่าพรรคเพื่อไทยจะจัดการปัญหานี้ได้ไหม

จตุพร: ถ้าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งเราจะไม่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเหมือนนายกษิต ภิรมย์ และเราจะแสวงหามิตรประเทศ ไทยกับกัมพูชานั้นผูกพันกัน กัมพูชาซื้อของไทยถึงแปดหมื่นกว่าล้านบาท ไทยซื้อกัมพูชาแปดพันล้านบาท เราไม่มีเหตุผลที่จะขัดแย้งกัน

เพราะฉะนั้น ถ้าเพื่อไทยเป็นรัฐบาล จะไม่มีสงคราม ประชาชนสองชาติจะไม่เดือดร้อน มีแต่สัมพันธภาพของความเป็นพี่เป็นน้อง เสียงปืนของมิตรประเทศจะไม่เกิดในรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย

ธิดา: ในฐานะที่ขณะนี้ระบอบอำมาตยาธิปไตยมีอิทธิพลครอบงำ เราสามารถเข้าใจวิธีคิดก็คือ การที่เราสามารถทำนายได้แต่ต้นแล้วว่าน่าจะเกิดสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านเพราะวิธีคิดของพวกสุดโต่งอนุรักษ์นิยมจะมีลักษณะที่นิยมก่อสงครามภายนอกเพื่อกลบเกลื่อนความขัดแย้งภายใน

จตุพร: ผมเพิ่มประเด็นว่า ท้ายสุดของสงครามไทยกัมพูชานั้นที่สุดจะนำไปสู่การรัฐประหารหรือไม่ มีการสัมภาษณ์กับภรรยาของทหารที่เสียชีวิตกล่าวว่า สามีโทรมาแจ้งว่าหลังจากนี้ไม่กี่ชั่วโมง จะมีการปะทะ แปลว่ารู้ล่วงหน้า แต่ผมไม่ได้อยากจะกล่าวหา หน้าที่ของเราคือหยุดสงคราม แต่ถ้าการทำสงครามนำไปสู่การปฏิวัติ เพราะขณะที่มีการทำสงครามไทยกัมพูชา ก็มีการปิดวิทยุชุมชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ฉะนั้น การทำสงครามและตัดการสื่อสารวิทยุชุมชนด้วยนั้น ทำให้คิดได้ว่าน่าจะนำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหาร

ธิดา: ขอเพิ่มเติมว่า กลุ่มของเรามุ่งชูสโลแกน ต่อต้านรัฐประหาร คัดค้านสงคราม ทวงความยุติธรรม มาแต่ต้นปีแล้วเพราะเราคาดไว้แล้วว่าแนวคิดล้าหลังของพวกอนุรักษ์นิยมสุดโต่งจะก่อให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้

และขอทำนายว่า จะมีการรัฐประหารมากกว่าการเลือกตั้ง วิธีคิดของเขาน่าจะปิดประเทศและก่อสงคราม รวมถึงมีแนวคิดปิดประเทศ 5 ปี เพราะกลัวการเลือกตั้ง ไม่ทราบว่าสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศจะยังอยู่หรือไม่

ถาม: เมื่อวานบางกอกโพสต์ลงบทสัมภาษณ์วีระกานต์ ซึ่งมีการวิพากษ์ว่าแกนนำแตกแยก และบางส่วนไม่หวังดีต่อสถาบัน และมีบางส่วนตามความต้องการของประชาชนมากเกินไป

ณัฐวุฒิ: ไม่มีความแตกแยกในกลุ่มแกนนำ แต่ยอมรับว่าความแตกต่างทางความคิดมีอยู่ ความแตกแยกหมายความว่ามิได้อยู่ด้วยกันฉันมิตร แต่สำหรับเราความเป็นพี่น้อง ความผูกพันทุกอย่างยังคงเดิม เพียงแต่มิติทางความคิดบางอย่างเท่านั้นที่แตกต่างกัน แต่ถ้าทุกคนยังหันหน้าไปในทิศทางเดียวกันคือประชาธิปไตย ก็สามารถร่วมทางได้ตามแนวความคิดของแต่ละคน ส่วนประเด็นเกี่ยวกับสถาบันนั้นผมยืนยันว่ามีความเป็นเอกภาพมีความเป็นหนึ่งเดียว คือจุดยืนตามที่ผมอธิบายไปแล้ว

จตุพร: ความเห็นของคุณวีระ เป็นความแตกต่าง ซึ่งถือเป็นความงดงามตามระบอบประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยก็คือการมีความแตกต่างแต่เส้นทางที่เดินคือเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นฝ่ายกำหนด

ประเด็นต่อมาก็คือ ในกระบวนการที่มีประชาชนที่มีความหลากหลาย คนที่เป็นผู้นำต้องมีความรับผิดชอบ ผมจึงเห็นว่าไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรที่เห็นว่ามีอันตรายก็ต้องแก้ไข ทั้งหมดนั้นผมยืนยันว่าแนวทางของ นปช. เป็นไปตามที่ นปช. ประกาศไว้ทุกประการ

ธิดา: ขอตอบเรื่องสถาบันและปัญหาการนำ คือสองเรื่องนี้สัมพันธ์กัน อยากจะเรียนว่าเรานำด้วยหลักการ

ในการนำโดยหลักการ เราจึงต้องมีหลักนโยบาย ซึ่งเรามีหลักเกี่ยวกับกับการเมืองการปกครองคือเราต้องการระบอบการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง นี่คือหลักการที่เราเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

ประการต่อมา เราใช้การนำรวมหมู่ เราจึงต้องใช้วิถีทางประชาธิปไตยในแกนนำ เพราะเป้าหมายของเราคือประชาธิปไตย ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินเรื่องสำคัญๆ

ถาม: การชุมนุมครั้งต่อไปจะมีหรือไม่

จตุพร: กฎหมายเลือกตั้งระบุแล้วว่านักการเมืองทำอะไรได้บ้าง แล้วประชาชนทำอะไรได้บ้าง เช่น การรำลึก 19 พ.ค. จะทำอะไรได้บ้าง

สำหรับคำถามว่าจะมีการชุมนุมอีกหรือไม่ ต้องบอกว่าการชุมนุมนั้นเป็นการระดมความคิด และจริงๆ แล้วมีทุกวัน เช่นวันนี้ก็มีที่สระบุรี

ถาม: หลังการสลายการชุมนุม มีแกนนำบางคนบอกว่าจะลงใต้ดิน จะหนีและต่อสู้โดยใช้อาวุธ แม้ว่าที่ผ่านมาไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น แต่ถ้าหากยังยืดเยื้อไม่มีประชาธิปไตย เป็นไปได้ไหมว่าจะมีการใช้อาวุธและความรุนแรง

ธิดา: เราไม่ใช้อาวุธ เราเคลื่อนไหวอย่างสงบและสันติ นี่คือหลักการของ นปช. คำถามว่าหากการต่อสู้ยืดเยื้อจะมีอนาคตเช่นไร ที่ผ่านมาเราก็ต่อสู้ยืดเยื้อมาห้าปี ทำจากการไม่มีการจัดการองค์กร จนกระทั่งรวมตัวเป็นองค์กรได้ เราหวังว่าเราจะต่อสู้ได้ยืดเยื้อและมีระบบมากขึ้น แม้แต่หนังสือที่เรามีก็คือส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะจัดโรงเรียนเพื่อยกระดับแกนนำของเรา

เราเลือกสันติวิธีเพราะเราต้องการชัยชนะที่แท้จริง นปช. ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเรา และเข้มแข็งมากขึ้นทุกวันๆ เพราะเราเลือกสันติวิธี

แต่แน่นอนว่าอาจจะมีบางส่วนที่ไม่เชื่อในหนทางสันติวิธี ซึ่งเขามีสิทธิคิดต่างและนั่นเป็นเรื่องในอนาคตที่มีปัจจัยหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจรัฐ แต่เรา นปช. เราจะทำตามพันธสัญญาที่ตกลงกันไว้ เราจะทำให้ดีที่สุด เพื่อให้ได้ชัยชนะ ให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยและประชาชนมีความสุขอย่างแท้จริง

ณัฐวุฒิ: พวกเรามีความเชื่อตรงกันว่าการต่อสู้ของเราเป็นการต่อสู้ระยะยาว ดังนั้น หากการต่อสู้นี้จะยืดเยื้อออกไปย่อมไม่เป็นเหตุผลให้เราเปลี่ยนแนวทางจากสันติวิธีไปจับอาวุธ ใช้ความรุนแรง เพราะผมเชื่อว่า เวลาอยู่ข้างเรา ท่านทั้งหลายเชื่อเหมือนผมไหมครับ (เสียงปรบมือ)

จตุพร: การชุมนุมของ นปช. ทั้งหมดที่เป็นมติ คือสันติวิธี เราเชื่อว่ามือเปล่าจะชนะกองทัพ เพราะเราจะไม่มีทางเอาอาวุธมาสู้ให้ชนะกองทัพ

ธิดา: สนามการต่อสู้ของเราคือความชอบธรรม ไม่ใช่สนามรบ